ชัยปุระ เมืองเก่าแก่เล็กๆ ในอินเดีย แต่มีเสน่ห์ น่าสนใจ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก กับมหานครสีชมพู ชัยปุระ อินเดีย น่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในช่วงเดือนแห่งความรักมากๆ ด้วยเมืองที่มีความน่ารัก พร้อมด้วยความสดใสของสถาปัตยกรรมภายนอกที่โดดเด่นด้วยสีชมพูพิ้งค์สะดุดทุกสายตา ว่าแล้วล็อคพิกัดเมืองชัยปุระ (Jaipur) เอาไว้ แล้วตามาดูกันดีกว่าว่า “10 พิกัดถ่ายรูปสวย ชัยปุระ อินเดีย” มีที่ไหนกันบ้าง
อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่า อินเดีย ค่อนข้างเป็นประเทศปราบเซียนสายเที่ยวเองมาก แต่ถ้าไปเที่ยวอินเดียกับทัวร์จะช่วยให้คุณเที่ยวได้แบบเพลิดเพลินมากขึ้น อย่างๆ น้อยก็เรื่องการเดินทางเที่ยวทัวร์สะดวกกว่ามาก แถมไม่ต้องหาข้อมูล หาร้าอาหารกินเองให้วุ่นวาย ซึ่งถ้าใครจะซื้อทัวร์ไปเที่ยวอินเดีย เราแนะนำให้ลองดูแพ็กเก็จทัวร์อินเดีย กับ ทัวร์ครับ (Tourkrub) เว็บไซต์ที่รวมทัวร์เที่ยวต่างประเทศไว้มากมาย เชื่อถือได้ ราคาไม่แพงด้วย
จองทัวร์เที่ยว อินเดีย กับ ทัวร์ครับ (Tourkrub)
https://tourkrub.co/india-tour
1. พระราชวังหลวง (City Palace)
พระราชวังเดิมที่ปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ด้วยสาเหตุที่ว่าพระราชวังแห่งนี้โดดเด่นมีชือเสียงในเรื่องของความงดงามของจิตรกรรมฝาผนัง ทั้งงานกระเบื้องตกแต่ง งานแกะสลัก งานประดับแก้วสี ซึ่งเหมือนถูกรวบรวมเอาไว้อย่างวิจิตรบรรจงที่พระราชวังแห่งนี้เพียงแห่งเดียว นอกจากความสวยงามของงานจิตกรรมฝาผนังแล้ว พระราชวังหลวง (City Palace) แห่งนี้ก็มีสถาปัตยกรรมภายนอกที่โอ่อ่าสวยงามไม่แพ้กัน และที่แน่ ๆ คือเด่นสะดุดตาด้วยสีชมพูทั้งหลัง
พิกัด : City Palace
2. พระราชวังสายลม (Hawal Mahal)
พระราชวังสายลม (Hawal Mahal) อีกหนึ่งพระราชวังสีชมพูแห่งมหานครสีชมพูเมืองชัยปุระ ซึ่งแน่นอนว่าต้องโดดเด่นด้วยสีสันสีชมพูพิ้งค์สะดุดสายตา และสถาปัตยกรรมสุดตระการตาในแบบเปอร์เซียผสมสไตล์โมกุล ที่วิจิตรงดงาม ด้วยหินฉลุลวดลายที่สวยงามแปลกตาบริเวณหน้าต่างด้านหน้า การออกแบบเพื่อความเป็นส่วนตัวด้วย แต่ก็โปร่งโล่งสบายด้วยช่องหน้าต่างจำนวนมากถึง 152 ช่อง อันเป็นไฮไลท์ของพิกัดแห่งนี้
พิกัด : Hawal Mahal
3. พระราชวังฤดูร้อน (Jal Mahal)
พระราชวังที่สร้างขึ้นเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของราชนิกูลเมืองชัยบุระ ที่ถูกสร้างขึ้นบนทำเลที่ตั้งสุดชิลล์ รายล้อมไปด้วยธรรมชาติ และบรรยากาศสุดคูล รายล้อมไปด้วยทัศนียภาพทางธรรมชาติสุดปัง กลางทะเลสาบมันสกา (Man Sagar) ที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับการเป็น พระราชวังฤดูร้อน (Jal Mahal) กับบรรยากาศของทะเลสาบและเทือกเขานหาร์การห์ ตัวโรงสร้างเป็นอาคารสูง 5 ชั้นที่สรร้างมาจากหินทรายแดงในรูปแบบตามสถาปัตยกรรมอินเดียที่สวยงาม โดยไฮไลท์ของพระราชวังแห่งนี้อยู่ตรงที่ ในช่วงที่ทะเลสาบมีระดับน้ำขึ้นสูงสุด อาคารชั้นล่างทั้ง 4 ชั้นจะถูกน้ำท่วมกลายเป็นพระราชวังกลางน้ำ เหนือเพียงแต่ชั้นบนสุดเพียงชั้นเดียวที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา
พิกัด : Jal Mahal
4. แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)
พระราชวังและป้อมปราการแอมเบอร์ ฟอร์ท ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองชัยบุระ ด้วยทำเลที่ตั้งเตะตาบนหน้าผาหินเหนือทะเลสาบเมาตา (Maota) ที่สามารถมองเห็นได้จากในระยะไกล กับรูปลักษณ์ภายนอกอันสวยงามแปลกตาเป็นเอกลักษณ์ด้วยผสมผสานระหว่างศิลปะฮินดู และศิลปะราชปุต พร้อมด้วยกำแพงปราการขนาดใหญ่ที่แน่นหนา
พิกัด : Amber fort
5. ป้อมชัยคฤห์ (Jaigarh fort)
ป้อมชัยคฤห์ (Jaigarh fort) หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ป้อมชัย ซึ่งมาจากป้อมแห่งชัยชนะ ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงเชิงเขา “ชีลกาทีลา” อันเป็นที่ตั้งของนปืนใหญ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หรือปืนใหญ่ “ชัยวนา” (Jaivana) ลักษณะทางโรงสร้างและการออกแบบของป้อมปราการแห่งนี้คล้ายคลึงกับป้อมแอมแมร์ เพียงแต่ภายในไม่มีพระราชวังและตั้งอยู่บนฐานที่มั่นที่สูงกว่า จึงกลายเป็นพิกัดชมวิวมุมสูงชิค ๆ ของเมืองชัยบุระไปในเวลาเดียวกันด้วย
พิกัด : Jaigarh fort
6. ป้อมนราห์การห์ (Naharagrh Fort)
ป้อมนราห์การห์ (Naharagrh Fort) ป้อมปราการบนพิกัดที่สูงที่สุดของเมืองบนเขาอะระวัลลี (Aravalli) ซึ่งนอกจกาจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการปกป้องคุ้มครองเมืองชัยปุระแล้ว ยังเป็นพิกัดจุดชมวิวมุมสูงของเมืองบนทัศนียภาพสุดปัง โดยตัวป้อมปราการเก่าแก่แห่งนี้ถูกสร้างขั้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1734 สำหรับคนที่ชื่นชอบการถ่ายรูปวิวในมุมสูงต้องไม่พลาดพิกัดนี้
พิกัด : Naharagrh Fort
7. หอดูดาว “จันทาร์ มานทาร์ (Jantar Mantar)
หอดูดาวจันทาร์ มานทาร์ (Jantar Mantar) เก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1727 เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญโดยเฉพาะสำหรับคนรักโลกแห่งดาราศาสตร์ เพราะเป็นสถานที่ตั้งของนาฬิกาแดดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีมีความสูงถึง 28 เมตร และหอดูดาวจันทาร์ มานทาร์ (Jantar Mantar) ยังได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นมรดกโลกในปี 2010 ด้วยเป็นเครื่องแสดงออกถึงความชาญฉลาดทางดาราศาสตร์และแนวความคิดทางจักรวาลวิทยาในช่วงปลายของยุคโมกุล
พิกัด : Jantar Mantar
8. ประตูปาตริกา The Patrika Gate
ประตูปาตริกา (Patrika Gate) เป็นประตูเมืองลำดับที่ 9 ของนครชัยปุระ ประตูชื่อดังสุดฮิปแห่งนี้ตั้งอยู่ บริเวณวงเวียนจาวาฮาร์ (Jawahar Circle) ซึ่งนอกจากจะโดดเด่นด้วยลวดลายและสีสันชมพูพาสเทลชวนมอง และถ่ายรูปสวยแล้ว ประตูเมืองแห่งนี้ยังอลังการไปด้วยการออกแบบสุดเว่อร์วัง ที่มีถึง 9 โดม 7 ซุ้มประตู ซึ่งเป็นการออกแบบเพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของชาวชัยปุระ
พิกัด : The Patrika Gate
9. Panna Meena Ka Kund Step Wells (บ่อน้ำขั้นบันได พานนา มีนา กา คุนด์)
บ่อน้ำโบราณแบบขั้นบันได ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางความพลุกพล่านใจกลางเมือง แม้ว่าตัวบ่อน้ำแบบขั้นบันได้แห่งนี้ จะไม่ได้มีสีชมพูพาสเทลตามคอนเซ็ปมหานครสีชมพูของเมืองชัยปุระ แต่ก็ยังคงกิมมิคเล็ก ๆ เอาไว้ด้วยการใช้สีพาสเทลที่ดู Calm and Cool เช่นกัน กันสีเหลืองสดใสที่โดดเด่นไม่แพ้สีชมพูเลยทีเดียว
พิกัด : Panna Meena Ka Kund Step Wells
10. Chand Baori Step Wall (บ่อน้ำขั้นบันไดแซนด์ เบาริ)
ปิดท้ายด้วยพิกัดปัง ๆ กับมุมถ่ายรูปสวยสุดชิคที่ บ่อน้ำขั้นบันไดโบราณที่ลึกที่สุดในอินเดีย สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 9 มีความลึกของบ่อสูงถึง 100 ฟุต หรือราว ๆ ความสูงตึก 13 ชั้น โดยประกอบไปด้วยขั้นบันไดมากถึง 3,500 ขั้น และสิ่งสำคัญที่ทำให้ที่นี้มีชื่อเสียงและกลายเป็นอีกหนึ่งพิกัดไฮไลท์ของเมือง นั่นก็คือ ที่นี่ยังเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนต์เรื่อง Batman The Dark Knight Rises อีกด้วย
พิกัด : Chand Baori Step Wall
ไปเที่ยวชัยปุระ อินเดียครั้งหน้า ก็อย่าลืมตามไปเก็บให้ครบ 10 พิกัดข้างต้นด้วยนะ รับรองว่าได้รูปสวย อวดเพื่อนๆ ในอินสตราแกรมกดไลค์ตาแตกแน่นอน จองทัวร์อินเดีย กับ ทัวร์ครับ (Tourkrub) กดตรงนี้